หมวดหมู่: กลต.

SEC copy


ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแล

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) เพื่อยกระดับการกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับลักษณะและความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละประเภท สอดคล้องกับแนวทางสากล และสร้างความเชื่อมั่นต่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลของไทยมากยิ่งขึ้น

          ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบหลักการปรับปรุง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ เพื่อให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะสมตามลักษณะและความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละประเภท (same activity, same risk, same regulatory outcome) รวมทั้งสอดคล้องกับการกำกับดูแลในต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลไกที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนต่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลของไทย ก.ล.ต. จึงจัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ซึ่งได้ปรับปรุงหลักการตามข้อเสนอที่ได้รับจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นไปเมื่อปลายปี 2566 โดยมีสาระสำคัญดังนี้

          (1) ปรับปรุงขอบเขตนิยามสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีลักษณะเป็นคริปโทแอสเซท (crypto asset) ตามแนวทางสากล ซึ่งมีลักษณะร่วมพื้นฐาน 4 ประการ* รวมทั้งมีลักษณะเป็นกลางทางเทคโนโลยี (tech neutral) และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยให้อำนาจคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล (positive list) เพื่อความเหมาะสมในการกำกับดูแล

          (2) การปรับปรุงหลักการกำกับดูแลการออกและเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลในตลาดแรก (ซึ่งไม่มีลักษณะของการระดมทุนและไม่มีความคาดหวังความสำเร็จของโครงการ**) ให้สอดคล้องกับขอบเขตสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแล โดยกำหนดให้ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัล (แบบ filing) และร่างหนังสือชี้ชวน ตามหลักการเปิดเผยข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน (disclosure based) แทนการได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. พร้อมทั้งยกเลิกการกำหนดให้ต้องเสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO portal) เพื่อให้การกำกับดูแลในการเสนอขายมีความเหมาะสมและได้สัดส่วนกับความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกเสนอขาย 

          (3) การปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในตลาดรองให้สอดคล้องกับการปรับปรุงบทนิยาม “สินทรัพย์ดิจิทัล” รวมทั้งกำหนดห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (means of payment) ปรับปรุงบทบัญญัติเพื่อกำกับดูแลบุคคลที่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร แต่เข้ามามีอำนาจบริหารกิจการ และเพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อกำกับดูแลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไว้ใน พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่น่าเชื่อถือและเหมาะสมแก่การประกอบธุรกิจ

          (4) การปรับปรุงและแก้ไขหลักการในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษทางอาญาสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการออกและเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่อประชาชนให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าว ปรับปรุงอัตราโทษทางอาญาและปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาเดิมในบางลักษณะให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย*** และปรับปรุงอายุความในการดำเนินคดีสำหรับความผิดตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้มีอายุความไม่เกิน 5 ปีเช่นเดียวกับมาตรา 316/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นต้น 

          ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ไว้บนเว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=1007 และระบบกลางทางกฎหมาย http://law.go.th/listeningDetail?survey_id=NDA0OURHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ= ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2567

_____________________

หมายเหตุ :

* ลักษณะร่วมพื้นฐาน 4 ประการ (4 key elements) ได้แก่ 

(1) มีการออกแบบและใช้งานในรูปแบบดิจิทัล (issued & represented in digital form) 

(2) เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง (intangible asset) 

(3) ผู้ถือต้องการถือสิทธิเหนือสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น (right to control) และ 

(4) สามารถเปลี่ยนมือได้ (transferable)

** ประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้กำกับดูแล (positive list) ที่เสนอปรับปรุง เช่น สินทรัพย์ประจำบล็อกเชน (native coin) สินทรัพย์ประจำโครงการ CeFi หรือ DeFi สินทรัพย์ประจำแพลตฟอร์ม stable coin หรือ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่นซึ่งคณะกรรมการสามารถกำหนด positive list ได้ 

*** โทษปรับเป็นพินัย คือ การสั่งให้ผู้กระทำความผิดที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงชำระค่าปรับไม่เกินที่กฎหมายกำหนด

 

 

7541

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!