หมวดหมู่: บลจ.

 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ - พรินซิเพิลสัมมนาออนไลน์ The Retirement Plan Symposium ครั้งที่ 6

แนะเตรียมพร้อมออมเงินภาคบังคับรับร่าง ...กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ

พร้อมส่องโมเดลจีนกระตุ้นการออมลดพึ่งพาสวัสดิการจากภาครัฐ

         ตลาดหลักทรัพย์ฯผนึกบลจ.พรินซิเพิลจัดสัมมนาออนไลน์ The Retirement Plan Symposium ครั้งที่ 6 ‘เจาะลึก กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ .. 2564’ เมื่อ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา เร่งกระตุ้นการออมเงิน ด้านวิทยากรแนะลูกจ้างเตรียมพร้อมออมเงินภาคบังคับ หลังกระทรวงการคลังเดินหน้าส่งร่าง ...กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติเข้าสู่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เริ่มส่งเงินเข้ากองทุนฯ หลังกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว 1 ปี พร้อมฉายภาพโมเดลกองทุนบำเหน็จบำนาญในจีน หลังรัฐบาลเร่งปรับโครงสร้างให้ประชาชนลดการพึ่งพาเงินสวัสดิการจากภาครัฐและกระตุ้นการออมเงินภาคบังคับและภาคสมัครใจ หนุนคนจีนมีเงินใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณแตะ 54% ของเงินเดือนในเดือนสุดท้าย 

 

8016 Principal Chumphol


          นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนพรินซิเพิล จำกัด จัดสัมมนาออนไลน์ The Retirement Plan Symposium ครั้งที่ 6 ‘เจาะลึก กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ .. 2564’ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมให้เห็นถึงความสำคัญของการออมเงินเพื่อไว้ใช้ในยามเกษียณ และเตรียมพร้อมก่อนบังคับใช้พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (ร่าง ... กบช.) ซึ่งเป็นกฎหมายการออมเงินภาคบังคับรองรับการเกษียณอายุในอนาคตอันใกล้

 

8016 FPO Supanee

 

          นางสาวสุปาณี จันทรมาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการออม การลงทุนและพัฒนาตลาดทุน สำนักนโยบายการออม และการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศไทยประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ Pillar 0 ระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานจากรัฐบาล โดยรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเงินช่วยเหลือแบบให้ฝ่ายเดียวแก่ผู้เกษียณอายุ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นต้น Pillar 1 ระบบการออมภาคบังคับขั้นพื้นฐานผ่านกองทุนประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39 Pillar 2 ระบบการออมภาคบังคับเพื่อความเพียงพอที่นายจ้างร่วมสมทบเงิน เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และ ร่าง ... กบช. Pillar 3 ระบบการออมภาคสมัครใจเพิ่มเติม ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF), และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เป็นต้น

          ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างจัดทำร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (ร่าง ... กบช.) ซึ่งเป็นกฎหมายที่เปรียบเสมือนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในภาคบังคับ สำหรับลูกจ้างและนายจ้าง (Pillar 2) โดยปัจจุบันร่าง ... ดังกล่าว ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว และอยู่ในขั้นตอนพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จากนั้นจะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร หากผ่านการพิจารณาจึงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป วัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการออมเงินเกษียณที่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มาแล้วกว่า 30 ปี แต่ยังมีสมาชิกเพียง 3 ล้านคน

          ทั้งนี้ หลังจาก ... กบช. มีบังคับใช้แล้ว 1 ปี จึงเริ่มให้ลูกจ้างและนายจ้างส่งเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ โดยแบ่งเป็น 3 เฟส ได้แก่ 1) ช่วง 3 ปีแรก (นับตั้งแต่ กบช. เปิดรับสมาชิก) จะบังคับใช้กับกิจการเอกชนที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป กิจการที่ได้สัมปทานจากรัฐ กิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานรัฐที่ไม่ได้อยู่ในบังคับของ กบข. กิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ต้องการเข้าในระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ 2) ปีที่ 4 เป็นต้นไป (หลังจากประกาศใช้ ... กบช.) จะบังคับใช้กับกิจการเอกชนที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป 3) และปีที่ 6 เป็นต้นไป (หลังจากประกาศใช้ ... กบช.) จะบังคับใช้กับกิจการเอกชนที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาตินั้น ต้องเป็นลูกจ้างอายุ 15 – 60 ปี

          ขณะที่อัตราการส่งเงินสะสม (ลูกจ้าง) และเงินสมทบ (นายจ้าง) เข้า กบช. กำหนดจากเพดานค่าจ้างไม่เกิน 60,000 บาท แบ่งเป็น ปีที่ 1 - 3 (นับตั้งแต่วันที่ กบช.เปิดรับสมาชิก) ส่งเงินฝ่ายละไม่ต่ำกว่า 3% ของค่าจ้าง ปีที่ 4 – 6 ส่งเงินฝ่ายละไม่ต่ำกว่า 5% ปีที่ 7 – 9 ส่งเงินฝ่ายละไม่ต่ำกว่า 7% ปีที่ 10 เป็นต้นไป ส่งเงินฝ่ายละไม่ต่ำกว่า 10% (ตามกฎกระทรวง) โดยลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปี สามารถเลือกรับเป็นเงินบำเหน็จ (เงินก้อน) หรือเลือกรับเงินบำนาญ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เป็นระยะเวลา 20 ปี โดยเมื่อเลือกรับบำนาญแล้วสามารถเปลี่ยนไปรับบำเหน็จในภายหลังได้ และหากสมาชิกเสียชีวิตก่อนเกษียณอายุหรือในช่วง 20 ปีที่ยังได้รับเงินบำนาญ เงินในกองทุนดังกล่าวจะถูกส่งต่อให้กับผู้ได้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุในเอกสารสมาชิกกองทุนฯ

          ทั้งนี้ ลูกจ้างและนายจ้างสามารถส่งเงินเพิ่มได้สูงสุดฝ่ายละไม่เกิน 30% ของค่าจ้าง (ไม่กำหนดเพดานค่าจ้าง) อย่างไรก็ตามสำหรับกิจการที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้วและส่งเงินในอัตราไม่ต่ำกว่าที่ กบช. กำหนด จะไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติก็ได้ ส่วนผู้ที่ได้รับค่าจ่างต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน กำหนดให้นายจ้างจะส่งเงินสมทบฝ่ายเดียว และกรณีที่ย้ายงานไปยังนายจ้างรายใหม่ที่มีเฉพาะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถโอนย้ายเงินจาก กบช. ไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้

          สำหรับการบริหารจัดการ กบช. จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายการลงทุน ส่วนการบริหารจัดการเงินในกองทุนจะคัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนมืออาชีพที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน ...อย่างน้อย 3 ราย โดยจะสรรหาผู้มาทำหน้าที่ผู้จัดการกองทุน ด้วยวิธี E-Bidding หรือประมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรอบระยะเวลาการบริหารต่อรายประมาณ 3 ปี และลูกจ้างที่เป็นสมาชิก กบช. สามารถเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง โดยมีแนวโน้มจะมีแผนการลงทุนแบบ D.I.Y. ให้สมาชิกสามารถผสมผสานสินทรัพย์ในการลงทุนได้เอง โดยกำหนดให้แผน Life Path เป็น default policy หากสมาชิกไม่เลือกแผนการลงทุนเอง และหากสมาชิกมีอายุเกิน 60 ปี จะฝากเงินไว้ใน กบช.เพื่อให้ผู้จัดการกองทุนบริหารจัดการต่อเนื่องก็ได้ นอกจากนี้ลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างชาติที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคม ก็สามารถเข้าเป็นสมาชิก กบช. ได้เช่นกัน ยกเว้นผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน จะไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกได้

 

8016 SEC Natthaya

 

          นางณัฐญา นิยมานุสร ผู้ช่วยเลขาธิการสายธุรกิจจัดการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังมีการออมเงินเพื่อเกษียณที่ไม่เพียงพอ แม้ว่าได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว (มีประชากรอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่า 20%) โดยส่วนใหญ่ขาดการเตรียมความพร้อมและขาดความรู้ด้านการเงิน ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานในภาคเอกชนประมาณ 15 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเพียง 18.8% หรือ 2.9 ล้านคน ที่มีการออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund หรือ PVD) นอกจากนี้ ในจำนวนผู้เกษียณอายุในแต่ละปี มีเพียง 20.8% ที่สะสมเงินได้ถึง 3 ล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอสำหรับใช้จ่ายได้เดือนละ 12,500 บาท เป็นระยะเวลา 20 ปี และ 90% ของผู้เกษียณเลือกที่จะนำเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แทนที่จะลงทุนต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้น จึงอยากให้ทุกคนเริ่มออมเงินให้เร็วที่สุดและมากที่สุดเท่าที่จะจัดสรรได้ รวมถึงลงทุนให้เป็นเพื่อให้มีเงินออมที่เพียงพอไว้ใช้ในช่วงเกษียณอายุ

          ทั้งนี้ สำหรับกิจการที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว สามารถปรับเงื่อนไขในข้อบังคับกองทุนให้สอดคล้องกับ กบช. ได้ เช่น อัตราเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้ลูกจ้างมีทางเลือกในการเก็บเงิน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าเป็นสมาชิก กบช. หรืออาจเลือกเป็นสมาชิกทั้งสองแห่งก็ได้ ซึ่งปัจจุบันสำนักงาน ... อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไข ... กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้สอดรับกับ กบช. และจะเปิดรับฟังความคิดเห็น (public hearing) ร่างแก้ไข ... ต่อไป

 

8016 Principal Thomas Cheong

 

          ด้าน Mr. Thomas Cheong - Executive Vice President of Principal Financial Group and President of Principal Asia กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ The Retirement Plan Symposium ครั้งที่ 6 ‘เจาะลึก กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ .. 2564’ ในหัวข้อ ‘Pension Fund in China’ (กองทุนบำเหน็จบำนาญในประเทศจีน) ว่า ปัจจุบันระบบการออมเงินเพื่อวัยเกษียณตามที่เวิลด์แบงก์กำหนด ถูกเรียกว่า Multi Pillar Pension System หรือระบบที่เปรียบเสมือนเป็นเสาหลักสำหรับการออมเพื่อวัยเกษียณ

          สำหรับสถานการณ์การออมเงินเพื่อวัยเกษียณในประเทศจีนปัจจุบัน ยังคงพึ่งพา Pillar 0 หรือระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานจากภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามรัฐบาลจีนเล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีผลต่อการใช้จ่ายงบประมาณดูแลด้านสวัสดิการผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าภายในปี 2593 (.. 2050) จีนจะมีสัดส่วนประชากรสูงอายุ 30 – 40% ของทั้งหมด จึงต้องปรับโครงสร้างการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ จากเดิมที่พึ่งพาสวัสดิการจากภาครัฐเป็นส่วนใหญ่เป็นการออมเงินเพื่อเกษียณภาคบังคับและภาคสมัครใจ โดยมีบัญชีเก็บออมเงินโดยเฉพาะและพัฒนาระบบการเชื่อมต่อข้อมูลเงินออมเงินภาคบังคับร่วมกับนายจ้างที่มีประสิทธิภาพแม้มีการย้ายงาน นอกจากนี้ความท้าทายในการกระตุ้นการออมเงินภาคบังคับและภาคสมัครใจของจีนอีกส่วนหนึ่งคือ การนำเงินออมไปลงทุนให้งอกเงยที่ไม่ได้มีทางเลือกมากนัก โดยส่วนใหญ่ให้ลงทุนในหุ้น A-shares จึงมีการพูดถึงการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย การลงทุนในสินทรัพย์ที่สอดคล้องกับช่วงอายุ

          สำหรับการออมเงินที่ดีควรจะมีเงินไว้ใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณที่ 70% ของเงินเดือนสุดท้ายของการทำงาน โดยสถานการณ์ทั่วโลก สิ้นปีที่ผ่านมา บราซิลเป็นประเทศที่ประชาชนสามารถออมเงินเพื่อวัยเกษียณได้ดีที่สุดอยู่ที่ 56% ของเงินเดือนสุดท้ายของการทำงาน จีนอยู่ที่ 54% ของเงินเดือนในเดือนสุดท้ายของการทำงาน ไทย 47% ของเงินเดือนในเดือนสุดท้ายของการทำงาน โดยบราซิลได้ใช้มาตรการกระตุ้นให้ประชาชนใส่ใจการออมภาคบังคับ (Pillar 2) และการออมภาคสมัครใจ (Pillar 3) ขณะที่ชิลีประสบความสำเร็จในการกระตุ้นประชาชนออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยใช้การออกตราสารหนี้ผลตอบแทนสูง 4% ให้กับประชาชนที่อยู่ในระบบการออมภาคบังคับ (Pillar 1) เพื่อจูงใจให้เข้าสู่การออมเงินภาคบังคับร่วมกับนายจ้าง

 

A8016

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!