หมวดหมู่: ไอที-เทคโนฯ

1295 MakerFaire


เชฟรอน ผนึกกำลัง สวทช. กระทรวง อว.
ร่วมสร้างอนาคตแห่งทศวรรษใหม่ในงาน ‘Maker Faire Bangkok 2020’

          บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และกลุ่มเมกเกอร์ในประเทศไทย จัดงาน “Maker Faire Bangkok 2020: THE FUTURE WE MAKE” มหกรรมการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์และการรวมตัวของเมกเกอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเมกเกอร์ชาวไทยและต่างประเทศร่วมแสดงผลงาน สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมหลากหลายแขนง กว่า 60 บูธ พร้อมด้วยเวิร์กช็อปอีกมากมายที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสวัฒนธรรมเมกเกอร์และเข้ามามีส่วนร่วมในการเนรมิตอนาคตที่ดีให้แก่ประเทศไทยและโลกใบนี้ด้วยตัวคุณเอง โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 19 มกราคม 2563 ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเดอะสตรีท รัชดา โดยผลการประกวดโครงการ “Enjoy Science: Young Makers Contest ปี 4” ภายใต้งาน Maker Faire Bangkok 2020 ผลการพิจารณาคัดเลือกการนำเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์ สายอาชีพ ปรากฏว่า โครงการชุดเลี้ยงกบในขวดพลาสติกระบบรีไซเคิลน้ำ จากวิทยาลัยการอาชีพไชยา จ.สุราษฎร์ธานี คว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง ขณะที่ใน สายสามัญ ปรากฏว่า โครงการอุปกรณ์เลี้ยงปลาวาไรตี้ จากโรงเรียนปลาปากวิทยา จ.นครพนม คว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง จากหัวข้อการประกวดในเรื่อง Social Innovations นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน รับทุนการศึกษาพร้อมสิทธิ์ในการเข้าร่วมงานเมกเกอร์แฟร์ระดับโลก

          ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีเป้าหมายในการเตรียมความพร้อมให้กับคนไทยในการก้าวไปสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ผ่านการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจสามารถจับต้องได้และใช้ได้จริง ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน โดยองค์ประกอบที่จะทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายและช่วยวางรากฐานประเทศสู่อนาคตได้นั้น คือ การสร้างและพัฒนาคนให้เป็น Smart Citizen ซึ่งไม่ใช่เพียงทำให้เยาวชนเก่งขึ้น แต่ต้องปลูกฝังลักษณะนิสัยและความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาสะเต็ม เพื่อให้พร้อมรับมือกับโลกในศตวรรษที่ 21 ซี่งกระทรวงฯ มีโครงการ KidBright ที่ทำให้เกิดนวัตกรรุ่นใหม่ Startup และมีการทำงานร่วมกันในหลายๆ ศาสตร์ อาทิ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การตลาด การออกแบบ เป็นต้น ต่อยอด Maker Nation ไปสู่การเป็น Coding Nation และก้าวไปสู่การเป็น Smart Nation

          นอกจากนี้ ยังมีโครงการ “ยุวชนสร้างชาติ” ที่เพิ่งจะคิ๊กออฟไปเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล โครงการนี้มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยอาศัยพลังของยุวชนวัยหนุ่มสาวในรั้วมหาวิทยาลัย และบัณฑิตจบใหม่ มาช่วยขับเคลื่อนประเทศ ผ่าน 3 โครงการย่อย ประกอบด้วย 1.โครงการยุวชนอาสา 2.โครงการบัณฑิตอาสา และ 3.โครงการกองทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น ซึ่ง “ยุวชนสร้างชาติ” จะเน้นการเรียนรู้ สร้างประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน คิด-วิเคราะห์ รวมทั้งบูรณาการหลายๆ สาขาศาสตร์วิชาเข้าด้วยกัน เพื่อใช้นวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำของชุมชน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่เป็นตัวกลางในการนำความรู้และเทคโนโลยีไปถ่ายทอดให้ชุมชนพัฒนาพื้นที่ชนบท โดยมีมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนองค์ความรู้และเทคโนโลยีพร้อมใช้งาน ส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และผู้ประกอบการยุคใหม่ รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีทั้ง “ทักษะทางวิชาการ (Hard Skill)” และ “ทักษะทางอารมณ์และสังคม (Soft Skill)” รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม และศักยภาพที่จะดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งวันนี้ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นหน่วยงานรัฐและเอกชนร่วมมือกันบูรณาการโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ซึ่งมีประโยชน์ต่อเยาวชนและประชาชนไทยในหลายมิติ เรียกได้ว่าสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยของเราให้ก้าวไปสู่ศตวรรษที่ 21 และร่วมกันพัฒนานวัตกรรมไปสู่ Innovation Nation ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเปลี่ยนชีวิต พลิกอนาคตของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป

          โครงการยุวชนสร้างชาติถือเป็น “การลงทุนทางสังคม” ที่แม้จะไม่ใช่การลงทุนในเชิงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ หรือนโยบายทางด้านการเงินการคลัง ที่สามารถวัดประเมินผลได้ด้วยตัวชี้วัดเชิงปริมาณ แต่โครงการยุวชนสร้างชาติคือ การขับเคลื่อนองคาพยพของทุกภาคส่วนเพื่อหล่อหลอมและจรรโลงจิตสำนึกสาธารณะความเป็นพลเมืองไทยและความภูมิใจในทรัพยากรของชาติให้บังเกิดขึ้นในยุวชนรุ่นใหม่ และจะเป็นทั้งมาตรการพยุงสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบางในปี 2563 ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า จะมีบัณฑิตตกงานประมาณ 5 แสนคน ด้วยการดึงบัณฑิตตกงานออกมาช่วย 5 หมื่นคน หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ ทำงาน 1 ปี ได้คนละ 15,000 บาท ถือเป็นการลดภาระให้กับสังคมและยังถือเป็นการลงทุนทางสังคมด้วย เพราะทั้งช่วยลดอัตราการว่างงานและช่วยหยิบยื่นโอกาสให้เด็กจบใหม่ได้เรียนรู้จริง โครงการนี้จึงเป็นการลงทุนทางสังคมที่จะทำให้ “คนรุ่นใหม่” เป็น “ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง” อย่างสร้างสรรค์และเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อผู้อื่นอย่างแท้จริง

          ด้าน นายไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า “เชฟรอนให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ เราจึงมุ่งส่งเสริมให้วัฒนธรรมเมกเกอร์ในประเทศไทยเติบโต โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นกำลังหลักของการพัฒนาประเทศในอนาคต ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสนใจในวัฒนธรรมเมกเกอร์ให้กับเยาวชน ภายใต้โครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต เช่น การประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับเมกเกอร์เยาวชน Young Makers Contest เวิร์กช็อปนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ Enjoy Maker Space และการจัดงานเมกเกอร์แฟร์ ซึ่งได้รับความสนใจจากเมกเกอร์ และเยาวชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นงานเมกเกอร์แฟร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเชฟรอนเชื่อว่ากิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเหล่านี้ จะมีส่วนช่วยจุดประกายความสนใจและแรงบันดาลใจในการเป็นเมกเกอร์ให้กับเยาวชน ให้พวกเขากล้าคิด และลงมือเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์สู่ผลงานจริง ตลอดจนเกิดความสนใจศึกษาในสาขาสะเต็ม อันเป็นสาขาที่มีความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในระยะยาว อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของโครงการ”

          ขณะที่ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “สวทช. มีหน้าที่ในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ในหลายปีที่ผ่านมา “วัฒนธรรมเมกเกอร์” มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนในสาขาสะเต็ม (การเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) ที่สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำการทดลอง และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ที่นำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง สวทช. เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมเมกเกอร์นักสร้างสรรค์นวัตกรรม ฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของคนในชาติ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี เกิดเป็น “เมกเกอร์เนชั่น” จึงมีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และหน่วยงานพันธมิตร ผ่านทางการจัดงานเมกเกอร์แฟร์ที่เป็นส่วนหนึ่งโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับเมกเกอร์รุ่นใหม่ Enjoy Science: Young Makers Contest ระดับนักเรียน-นักศึกษา ทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต เพื่อส่งเสริมเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือ “สะเต็ม” และปลูกฝังให้เกิดการคิดสร้างสรรค์และการลงมือทำจริง โดยในปีนี้จัดการประกวดในหัวข้อ “Social Innovation: นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน” มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 400 ทีม ทีมผู้ชนะการประกวดจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา มูลค่ารวมกว่า 1.2 ล้านบาท นอกจากยังมีกิจกรรมและพื้นที่ให้เหล่าเมกเกอร์ได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ซึ่งจะเป็นการแรงบันดาลใจให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเมกเกอร์ในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็นเลิศทางด้าน วทน. และก้าวไปสู่ “Smart Nation” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไปก้าวไปสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างมั่นคงต่อไป

          และด้าน ดร.กฤษชัย สมสมาน หนึ่งในเมกเกอร์คนไทยผู้ร่วมผลักดันเมกเกอร์แฟร์ กล่าวเสริมว่า “งานเมกเกอร์แฟร์มีบทบาทสำคัญมากในการสนับสนุนให้คนไทยมีความกล้าที่จะลงมือทำหรือสร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเอง นอกจากนี้ งานเมกเกอร์แฟร์ยังถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่เมกเกอร์จากทั่วประเทศไทยและจากต่างประเทศมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นคุณสมบัติของเมกเกอร์แล้ว ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้วงการเมกเกอร์มีการเติบโตอีกด้วย จากที่ผ่านมา เราได้เห็นผลกระทบที่สำคัญ คือผู้ที่เคยมาร่วมงานเมกเกอร์แฟร์ในฐานะผู้ชมจะกลายมาเป็นผู้นำเสนอผลงานภายในงานปีต่อไป แล้วช่วยกันเผยแพร่แนวคิดของตัวเองเพื่อจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าร่วมงานอยากมาเป็นเมกเกอร์กันมากยิ่งขึ้น ผมจึงอยากขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ช่วยกันสนับสนุนให้เกิดงานเมกเกอร์แฟร์ขึ้นในทุกปีมา ณ ที่นี้ด้วย”

          สำหรับงาน Maker Faire Bangkok 2020 จะมีการแสดงผลงานของเมกเกอร์ชาวไทยและต่างประเทศกว่า 60 บูธ อาทิ การแข่งขันรถจิ๋ว AI การประลองหุ่นเห่ย HEBOCON ดาบอัศวินเจได หุ่นยนต์แปลงร่าง และโดรนดำน้ำ ฯลฯ และที่ขาดไม่ได้เลยคือ ขบวนอิเล็กทริคพาเหรด ที่เปรียบเสมือนไฮไลท์สำคัญประจำงาน Maker Faire Bangkok ที่จะมาสร้างบรรยากาศความสนุกสนานและแสงสีอันน่าตื่นเต้นในยามค่ำคืนแก่ผู้มาร่วมงานทุกคน พร้อมด้วยกิจกรรมเวิร์กช็อปอีกหลายรูปแบบให้เลือกเข้าร่วมได้ตามอัธยาศัย นอกจากนี้ ยังมีการประกาศผลและมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศโครงการ Young Makers Contest ปี 4 การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียนสายสามัญและอาชีวะ ภายใต้หัวข้อ Social Innovations: นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษาและสิทธิ์ในการเข้าร่วมงานเมกเกอร์แฟร์ระดับโลกที่ต่างประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 8,000 คน และมียุวชนอาสา อว. เข้าร่วมงานมากกว่า 1,000 คน

          ดูรายละเอียดและเงื่อนไขของกิจกรรมเวิร์กช็อปเพิ่มเติมได้ที่ www.makerfairebangkok.com

 


AO1295

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1         

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!