หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV5 copy copy


การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ – บอลิคำไซ)                                         

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้        

  1.        อนุมัติให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ – บอลิคำไซ) สำหรับงานในฝั่ง สปป.ลาว ในรูปแบบเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนทั้งจำนวนวงเงินรวม 1,380,067,000 บาท
  2. อนุมัติให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินเป็นรายปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568 รวมระยะเวลา 5 ปี รวมวงเงินที่จะขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณทั้งสิ้นเท่ากับ 690,033,500 บาท
  3. มอบหมาย สพพ. ดำเนินการกู้เงินจำนวน 690,033,500 บาท ตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนด                                                            

    สำหรับ กรณีที่ สปป.ลาว ผิดนัดชำระหนี้ เห็นควรให้ สพพ. พิจารณาใช้เงินสะสมของหน่วยงานในการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนแหล่งเงินกู้ในกรณี สปป. ลาว ผิดนัดชำระหนี้ เป็นลำดับแรกก่อน เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป. ลาว ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 [เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สำหรับโครงการพัฒนาถนนหมายเลข 11 (R11) ช่วงครกข้าวดอ - บ้านโนนสะหวัน-สานะคาม - บ้านวัง - บ้านน้ำสัง] ตามความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี                                                                    

สาระสำคัญของเรื่อง                                                        

กค. รายงานว่า                                                               

  1. โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ – บอลิคำไซ) มีแนวทางเริ่มต้นจากตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ผ่านด่านสากลไทย – สปป.ลาว ข้ามไปยังบ้านกล้วย เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว โดยงานก่อสร้างแบ่งออกเป็น 3 ส่วน มีประมาณการค่าใช้จ่าย ดังนี้

                                                           

ส่วนที่                รายละเอียดงาน  ค่างานก่อสร้าง    ค่าที่ปรึกษา         ประมาณราคา    

                                                (ล้านบาท)          (ล้านบาท)          (ล้านบาท)         

1             ถนน + อาคารด่านพรมแดนฝั่งไทย      1,766      53           1,819     

2             สะพานข้ามแม่น้ำโขงฝั่งไทย  787         24           811        

               สะพานข้ามแม่น้ำโขงฝั่ง สปป.ลาว        476         14           490        

3             ถนน + อาคารด่านพรมแดนฝั่ง สปป.ลาว            780         30           810        

รวม                  3,809     121       3,930    

       ทั้งนี้ ประมาณค่าใช้จ่ายแบ่งตามความรับผิดชอบ แบ่งออกเป็น ค่างานฝั่งไทย 2,630 ล้านบาท และค่างานฝั่ง สปป.ลาว 1,300 ล้านบาทโดยคณะรัฐมนตรีมีมติ (4 มถุนายน 2562) อนุมัติในหลักการให้กระทรวงคมนาคม (คค.) โดยกรมทางหลวงดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ – บอลิคำไซ) ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 2,630 ล้านบาท (ค่างานฝั่งไทย)                                                             

  1.       เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2560 กระทรวงการเงิน สปป.ลาว ได้มีหนังสือที่ 2876/MOF แจ้งความประสงค์ในการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก สพพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการก่อสร้างสะพานฯ ในส่วนของขอบเขตงานในฝั่ง สปป.ลาว โดยในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 กระทรวงการเงิน สปป.ลาว ได้มีหนังสือเลขที่ 0434/MOF แจ้งยืนยันการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก สพพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการก่อสร้างสะพานฯ (ฝั่ง สปป.ลาว) วงเงินกู้ จำนวน 1,380,067,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.50 ต่อปี อายุสัญญา 30 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 7 ปีซึ่งคณะกรรมการบริหารสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (คพพ.)ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเมื่อคราวการประชุมครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2562 ได้มีมติอนุมัติการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป.ลาว โดยมีเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ รูปแบบวิธีการ และแหล่งที่มาของเงินทุนในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินดังนี้                                                                

2.1 เงื่อนไขและรูปแบบการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน                                                      

  1. เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน

   1.1 อัตราดอกเบี้ย                                            ร้อยละ 1.50 ต่อปี   

       1.2 อายุสัญญา                                            30 ปี (รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 7 ปี)

   1.3 ใช้สินค้าและบริการจากประเทศไทย              ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าสัญญา           

   1.4 ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา                    นิติบุคคลสัญชาติไทย         

   1.5 กฎหมายที่ใช้บังคับสำหรับสัญญาเงินกู้            กฎหมายไทย                  

                                            

  1. รูปแบบการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน

 2.1 เป็นรูปแบบเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน (Soft Loan) ทั้งจำนวนรวมวงเงินกู้ทั้งสิ้น 1,380,067,000 บาท                                                                       

2.2 แหล่งเงินที่ใช้ประกอบด้วย                                                     

           - เงินงบประมาณ (ร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ)รวมวงเงิน 690,033,500 บาทโดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568 รวมระยะเวลา 5 ปี  

                                                           

ปีงบประมาณ      การจัดสรรเงินงบประมาณให้ สพพ. (บาท)                                      

2564                      70,000,000                                                        

2565                      200,000,000                                                      

2566                      200,000,000                                                      

2567                      150,000,000                                                      

2568                      70,033,500                                                        

รวมทั้งสิ้น                690,033,500                   

                       

           - เงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ (ร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ) รวมวงเงิน 690,033,500 บาทสพพ. จะกู้เงินมีระยะเวลา 5 ปี โดยใช้วิธีการประมูลเพื่อหาผู้เสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุด โดยในช่วง 5 ปีแรก จะใช้ประมาณการอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ร้อยละ 2.62 ต่อปี ซึ่งภายหลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้โดยการออกพันธบัตรระยะยาวทดแทน โดยใช้ประมาณการอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 3.67 ต่อปี ซึ่งแนวทางดังกล่าว สพพ. ได้หารือกับ สงป. แล้ว                                                                    

2.2 วงเงินสำหรับการให้ความช่วยเหลือ                                                      

รายการ  จำนวนเงิน (บาท)                                   

  1. ค่าก่อสร้าง แบ่งเป็น 2 สัญญา                                         1,256,000,000                                                   

สัญญาที่ สะพานข้ามแม่น้ำโขงฝั่ง สปป.ลาว                    476,000,000                                                      

สัญญาที่ งานถนนและด่านพรมแดนฝั่ง สปป.ลาว             780,000,000                                                      

  1. ค่าวิศวกรที่ปรึกษา                                                        44,000,000                                                        

สะพานข้ามแม่น้ำโขงฝั่ง สปป.ลาว                                      14,000,000                                                        

งานถนนและด่านพรมแดนฝั่ง สปป.ลาว                             30,000,000                                                        

  1. ค่าบริหารจัดการโครงการของ สปป.ลาว 15,000,000                                                        
  2. ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด                                                     63,000,000                                                        
  3. ค่าธรรมเนียมบริหารของ สพพ.                                       2,067,000                                                          

รวม                                                                         1,380,067,000                                                   

  1.        เนื่องจากโครงการก่อสร้างสะพานฯ เป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อการสร้างความเชื่อมโยงเชิงกายภาพระหว่างสองประเทศและอนุภูมิภาค รวมถึงส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการค้าชายแดน ซึ่งปัจจุบัน สปป.ลาว มีโครงการที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก สพพ. แล้ว ทั้งหมด 19 โครงการ จำนวนเงินกู้ 11,430 ล้านบาท ชำระคืนให้ สพพ. แล้ว เป็นจำนวนเงิน 971 ล้านบาท และเหลือเงินกู้คงค้าง 10,459 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562) โดยที่ผ่านมา สปป. ลาว ไม่เคยมีการผิดนัดชำระหนี้กับ สพพ.

               อย่างไรก็ดี ให้ สพพ. ติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว อย่างใกล้ชิด และรายงานให้ คพพ. ทราบเป็นระยะ                                                   

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 ธันวาคม 2562

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!