หมวดหมู่: บทความการเงิน

1.AAA A AAA7TAM


นักวิชาการแถลงผลงานวิจัย พร้อมเสนอตัวชี้วัดที่สำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนในแง่ของการเงินและการค้า

       ทีมนักวิจัยที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสํานักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ผ่านโครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move Thailand) ได้ทำการสำรวจความพร้อมของไทยและการเข้าใกล้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 17 ขององค์กรสหประชาชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกในแง่การเงินและการค้าระหว่างประเทศ โดยทีมนักวิจัยนี้ประกอบไปด้วย ดร. กุลบุตร โกเมนกุล อาจารย์ประจำสาขา การเงินและการลงทุน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต รศ. ดร. นงนุช ตันติสันติวงศ์  อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Nottingham Trent University สหราชอาณาจักร และ ดร. ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์  อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Birmingham สหราชอาณาจักร

         ทีมนักวิจัยเปิดเผยว่า ผลงานวิจัยได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการเลือกใช้ตัวชี้วัดที่เหมาะสมเพื่อการติดตามความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมาย รวมถึงกำหนดนโยบายที่เหมาะสมที่จะทำให้แต่ละประเทศเข้าถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 17 นี้ได้  จากการวิเคราะห์ข้อมูลนานาชาติรวมทั้งสิ้น 51 ประเทศ ทำให้สามารถระบุได้ว่าแม้ว่าการให้หรือรับเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance: ODA) จากต่างประเทศจะจัดอยู่ในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 17 แต่การรับเงินช่วยเหลือไม่ได้ช่วยให้ประเทศผู้รับมีการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยรวม (SDG score) ที่วัดโดยองค์การสหประชาชาติ และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่กลับเป็น การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ การโอนเงินกลับจากต่างประเทศ รวมถึงการมีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อรายได้รัฐรวมทั้งหมดสูงขึ้น ที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศผู้รับความช่วยเหลือ นอกจากนี้ การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศและส่วนแบ่งการส่งออกในตลาดโลกที่มีเพิ่มขึ้น รวมถึงการที่ภาครัฐมีหนี้ต่ำ ยังสามารถทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอีกด้วย ดังนั้น การสนับสนุนให้เกิดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศและขยายตลาดส่งออก รวมถึงรักษาวินัยการคลังของภาครัฐ จึงมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก

        และนักวิจัยนอกจากนี้ ทีมวิจัยยังพบว่า เป้าประสงค์และตัวชี้วัดภายใต้เป้าหมายที่ 17 ที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางการเงินบางตัวที่ทางองค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนด ไม่ค่อยสะท้อนถึงความร่วมมือระหว่างประเทศเท่าที่ควร เช่น เป้าประสงค์ที่ 17.1 เน้นการระดมทรัพยากรจากแหล่งที่มาที่หลากหลาย แต่กลับมุ่งวัดเพียงการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ โดยไม่วัดการสนับสนุนระหว่างประเทศโดยตรง ทั้งนี้เป็นเพราะทรัพยากรที่ระดมผ่านการสนับสนุนระหว่างประเทศจะถูกจัดรวมอยู่ในตัวเลข “เงินบริจาค” หรือ ODA ซึ่งก็จะไปซ้ำกับตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ที่ 17.2 และ 17.3 รวมถึง ตัวชี้วัดนี้เน้นการระดมทรัพยากรของภาครัฐ ไม่ได้ให้ความสนใจกับการระดมทรัพยากรในภาคเอกชนเลย เช่นเดียวกับเป้าประสงค์ที่ 17.4 ที่ UN ระบุตัวชี้วัดเป็นสัดส่วนบริการหนี้ต่างประเทศของภาครัฐเท่านั้น แต่สถิติหนี้ต่างประเทศที่ควรให้ความสำคัญควรเป็นการวัดมูลค่าหนี้ ซึ่งอาจจะเป็นหนี้ที่ก่อโดยภาครัฐหรือภาคเอกชน

         ทีมนักวิจัย ยังได้ให้ข้อเสนอแนะ ให้มีการเสริมสร้างความร่วมมือในแง่ทางการเงินและการค้าระหว่างประเทศที่ยั่งยืน เช่น ควรมีการจัดทำมาตรการการส่งเสริมความร่วมมือในการเก็บภาษี และมาตรการต้านการเลี่ยงภาษี อีกทั้งยังมีความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว มาตรการนี้ทำให้มีการเก็บภาษีเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการระดมทุนในประเทศได้มากขึ้น โดยอาจกำหนดตัววัดผลที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย ที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามเพื่อป้องกัน aggressive tax planning ในรูปแบบต่างๆ  โดยมาตรการดังกล่าวจะเป็นมาตรการป้องกันขั้นต้นสำหรับการเลี่ยงภาษีของบริษัทที่ประกอบการในหลายประเทศ ในขณะเดียวกันมาตรการดังกล่าวยังส่งเสริมความเสมอภาค นอกจากนี้รัฐบาลอาจจะพิจารณาการเคลื่อนย้ายทรัพยากรในประเทศผ่านมาตรการภาษีอากร ที่สามารถนำมาสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย

        ในส่วนของประเทศไทยนั้น ทีมนักวิจัยยังเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรับผิดชอบในเป้าหมายการพัฒนาการเสริมสร้างความร่วมมือระดับโลกในแง่ทางการเงินและการค้าระหว่างประเทศ   มุ่งนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด ที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยการทำสัญญาความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ กับประเทศเหล่านั้น โดยเน้นกลยุทธ์การลงทุนและการค้าที่นำไปสู่การพัฒนาแรงงานและเทคโนโลยี รวมไปถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

       ในบริบทของประเทศไทย ทีมวิจัยได้จัดทำ Mapping Matrix แสดงความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงระหว่างเป้าประสงค์ภายใต้เป้าหมายที่สนใจ กับเป้าประสงค์ภายใต้เป้าหมายอื่นๆ และแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานในการติดตามตัวชี้วัดต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเห็นภาพรวม และความเกี่ยวข้องของแต่ละเป้าประสงค์ โดยหวังว่าภาครัฐจะสามารถนำไปวางแผนการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการเพื่อบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สอดคล้องกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ จนเกิดความไม่สอดคล้องและปัญหาตามมาให้แก้ในภายหลัง

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 950x120

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!