หมวดหมู่: บทความการเงิน

SET Logo


เทคโนโลยีด้านการเงินในธุรกิจตลาดทุนกำลังเป็นที่สนใจเนื่องจากมีการเจริญเติบโตที่สูง

·      ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เทคโนโลยีทางการเงินหรือที่เรียกสั้นๆ ว่า 'FinTech' ซึ่งย่อมาจาก 'Financial Technology' กำลังมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้มีส่วนร่วมในธุรกิจตลาดทุนอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจตลาดทุนหลายแห่งมีการพูดถึงวิธีการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานรวมถึงการให้บริการลูกค้าอีกด้วย

·       โดยในปี 2560 ถือว่าเป็นปีทองของสตาร์ทอัพ FinTech โดยมีมูลค่าการระดมทุนทั่วโลกผ่านวิธีการระดมทุนหลักอย่าง Venture Capital (VC) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 5.1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นถึง 4.4 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2556

·       แม้ว่าตลาดทุนไทยเป็นตลาดทุนในกลุ่ม Emerging Markets ความก้าวหน้าด้าน FinTech รวมไปถึงการศึกษาและงานวิจัยในด้านนี้ยังมีอยู่อย่างจำกัด แต่อีกมุมหนึ่งก็ยังมีพื้นที่ให้ทำการศึกษาอยู่มาก ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในฐานะหน่วยงานกลางที่ต้องการสนับสนุนการพัฒนาด้าน FinTech ในตลาดทุนไทยจึงพยายามผลักดันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการศึกษาแนวโน้มเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่กำลังจะมีบทบาทในอนาคต และผลกระทบกับธุรกิจในห่วงโซ่ธุรกิจตลาดทุน รวมไปถึงสภาวะการแข่งขันและอุปสรรคในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงเป็นเรื่องสำคัญและควรมีการติดตามอย่างใกล้ชิด

Thai Capital Market Survey 2018 ถือเป็นการสำรวจด้าน FinTech ในตลาดทุนไทยเป็นครั้งแรกโดยได้รับความร่วมมือจากทั้งกลุ่มสถาบันการเงิน และ สตาร์ทอัพ FinTech

·       กลุ่มตัวอย่างของการสำรวจครั้งนี้เน้นไปที่ผู้เข้าร่วมโครงการ Capital Market Innovation Awards ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 60 ราย ซึ่งประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก คือกลุ่มสถาบันการเงินซึ่งรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ/ สมาคม และ กลุ่มสตาร์ทอัพ FinTech โดยผู้ร่วมตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารระดับสูงของแต่ละบริษัทรวมถึงเจ้าของบริษัทสตาร์ทอัพ FinTech ทำให้ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าผลการสำรวจจะมีข้อมูลเชิงลึกจากผู้ที่มีบทบาทในการพัฒนา FinTech อย่างแท้จริง

·       จากผลสำรวจสรุปได้ว่ามุมมองของทั้งกลุ่มสถาบันการเงินและสตาร์ทอัพ FinTech นั้นค่อนข้างสอดคล้องกัน โดยมองว่าเทคโนโลยี AI จะมีบทบาทเข้ามาขับเคลื่อนการให้บริการโดยเฉพาะในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มากที่สุด โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงประเมินว่า FinTech ในด้านนี้ยังคงมีความสำคัญในอีก 5 ปีข้างหน้าอีกด้วย ทั้งนี้ธุรกิจอื่นๆ ที่คาดว่า FinTech จะเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนรองลงมาได้แก่ Trade execution และ Operations and technology ตามลำดับ

·       นอกจากนี้ ทั้งสองกลุ่มยังพยายามหาแนวทางในการทำงานร่วมกันมากกว่าที่จะมาแข่งขันกันโดยตรง เพราะเมื่อพิจารณาจากจุดแข็งระหว่างสถาบันการเงินและสตาร์ทอัพ FinTech ที่มีความแตกต่างกันนั้น พบว่าหากทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันจะสามารถเติมเต็มส่วนที่เป็นจุดด้อยของกันและกันได้ โดยที่สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานและช่องทางการจัดจำหน่ายจะทำหน้าที่จัดหาแหล่งเงินทุน และป้อนข้อมูลลูกค้าให้กับสตาร์ทอัพ FinTech ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางเลือกใหม่ๆ และโครงสร้างองค์กรที่เหมาะกับการคิดค้นนวัตกรรม

SET Note ฉบับที่ 8/2561

จัดทำโดย นายศิริยศ จุฑานนท์ ฝ่ายวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!